รู้จักจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำขวัญจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางและเป็นเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีอำเภอเมือง แต่มี อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า" ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 75 กิโลเมตร
ประวัติศาสตร์
พระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี (เมืองหลวง) ของอาณาจักรอยุธยา หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"
เมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี รวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับเมืองสระบุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "แหล่งมรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา
เขตการปกครอง
- อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ที่ว่าการอำเภอพระนครศรีอยุธยา ถนนโรจนะ ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์: 0-3524-1501
โทรสาร: 0-3524-1501
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอท่าเรือ
ที่ว่าการอำเภอท่าเรือ เลขที่ 133 หมู่ที่ 1 ตำบล ท่าเจ้าสนุก อำเภอ ท่าเรือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13130
โทรศัพท์: 035-341001
โทรสาร: 035-341001
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอนครหลวง
ที่ว่าการอำเภอนครหลวง เลขที่ 9 หมู่ที่ 1 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13260
โทรศัพท์: 0-3535-9946
โทรสาร:
อีเมล: Nakhonluang2563@gmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอบางซ้าย
ที่ว่าการอำเภอบางซ้าย เลขที่ 70 หมู่ที่ 1 ตำบลบางซ้าย อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13270
โทรศัพท์: 0-35375912
โทรสาร: 0-3537-5912
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอบางไทร
ที่ว่าการอำเภอบางไทร หมู่่ที่ 4 ตำบลบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13190
โทรศัพท์: 0-3537-1234
โทรสาร: 0-3537-1234
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอบางบาล
ที่ว่าการอำเภอบางบาล หมู่ที่ 1 ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13250
โทรศัพท์: 0-3530-7775
โทรสาร: 0-3530-7775
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอบางปะหัน
ที่ว่าการอำเภอบางประหัน เลขที่ 139 หมู่ที่ 6 ตำบลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13220
โทรศัพท์: 0-3538-1636,0-3530-2180
โทรสาร: 0-3538-1636
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอบางปะอิน
ที่ว่าการอำเภอบางปะอิน ถ.บางปะอิน-บางไทร อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13160
โทรศัพท์: 0-3526-1001
โทรสาร: 0-3526-1001
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอบ้านแพรก
ที่ว่าการอำเภอบ้านแพรก เลขที่ 333 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแพรก อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13240
โทรศัพท์: 0-3538-6111
โทรสาร: 0-3538-6840
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอผักไห่
ที่ว่าการอำเภอผักไห่ หมู่่ที่ 4 ตำบล ผักไห่ อำเภอ ผักไห่ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13120
โทรศัพท์: 0-3539-1399
โทรสาร: 0-3539-1399
อีเมล: m14080001@dopa.go.th
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอภาชี
ที่ว่าการอำเภอภาชี หมู่ 4 ถนนสุวรรณศร ตำบลภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์: 0-3531-1001
โทรสาร: 0-3531-1001
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอมหาราช
ที่ว่าการอำเภอมหาราช หมู่ที่ 6 ถนนชาญวิวัฒน์ ตำบลหัวไผ่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13150
โทรศัพท์: 0-3538-9136
โทรสาร: 0-3538-9136
อีเมล: maha_rat1415@hotmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอลาดบัวหลวง
ที่ว่าการอำเภอลาดบัวหลวง หมู่ 3 ตำบล ลาดบัวหลวง อำเภอ ลาดบัวหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13230
โทรศัพท์: 0-3537-9180
โทรสาร: 0-3537-9180
อีเมล: latbualuang830@gmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอวังน้อย
ที่ว่าการอำเภอวังน้อย หมู่ 5 ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 0-3527-1001
โทรสาร: 0-3521-5359
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอเสนา
ที่ว่าการอำเภอเสนา ตำบล เสนา อำเภอ เสนา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13110
โทรศัพท์: 0-3520-1501 ต่อ11
โทรสาร: 0-3520-1501 ต่อ18
อีเมล: amphoe_sena@hotmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภออุทัย
ที่ว่าการอำเภออุทัย เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13210
โทรศัพท์: 0-3535-6069
โทรสาร: 0-3535-6069
อีเมล: m14140001@dopa.go.th
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567